วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Casestudy

อาคารใบหยก 2 (Baiyoke 2 Tower)
อาคารโตเกียว สกาย ทรี (Tokyo Sky Tree Tower)
อาคารไทเป 101 (Taipei 101)
อาคารเบิร์จ คาลิหาร์ (Burj Khalifa)



บทที่ 6

สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

      ตึกสูงในปัจจุบันนั้นล้วนแต่มีการพัฒนาด้านโครงสร้างที่ทันสมัย และมีความสูงชะลูด เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ก็มีการทำอาคารที่สูงขึ้น ทั้งที่เพื่อเป็นที่พักอาศัย ทำธุรกิจ หรือ อสังหาริมทรัพย์ ด้วยค่าที่ดินที่สูงขึ้นในย่านเศรษฐกิจ ทำให้การก่อสร้างอาคารต้องทำในทิศสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้อาคารสูงมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อแรงกระทำทางด้านข้าง ซึ่งก็คือ แรงลม

บทที่ 5

มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร

กฎกระทรวงฉบับที่6 (.. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. 2522 ข้อ 17 ในหมวดแรงลม ได้กำหนดค่าหน่วยแรงลมที่กระทำกับอาคารเปลี่ยนแปลงตามความสูงของอาคารแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารว่าอยู่ในเขตที่มีความเร็วลมอ้างอิงและลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เป็นต้น ดังนั้นกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้ดำเนินการให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาจัดทำมาตรฐานว่าด้วยการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคารสำหรับประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานแรงลมภายในประเทศไทยให้ทันสมัยและมีความถูกต้องสมบูรณ์ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้มาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในประชาคมวิชาชีพระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ มาตรฐานฉบับใหม่นี้ได้คำนึงถึง ความเร็วลมอ้างอิงในเขตต่างๆ ลักษณะภูมิประเทศ รูปร่างของอาคาร และคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของอาคาร ซึ่งเป็นรูปแบบของมาตรฐานการคำนวณแรงลมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล (กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย, 2550)     

บทที่ 4

การควบคุมการสั่นไหวของโครงสร้างโดยการเพิ่มความหน่วง

       โครงสร้างทางวิศวกรรมโยธาสมัยใหม่ เช่นอาคารสูง และสะพานที่มีช่วงยาวมีความอ่อนตัวสูง มีอัตราส่วนความหน่วงต่ำ และมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้เกิดการตอบสนองค่อนข้างสูงภายใต้แรงทางพลศาสตร์ เช่น แรงลม แรงแผ่นดินไหว การที่โครงสร้างมีขนาดของแอมพลิจูดทางการตอบสนองสูง อาจทำให้โครงสร้างเกิดความไม่ปลอดภัย หรือผู้ใช้อาคารอาจเกิดความรู้สึกไม่สะดวกสบาย ดังนั้นจึงควรมีการควบคุมการสั่นไหวของโครงสร้าง เมื่อเกิดแรงพลศาสตร์มากระทำ   

บทที่ 3

ระบบโครงสร้างอาคารสูงประเภทต่าง ๆ

       ความสูงของอาคารในแต่ละระดับจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ในการออกแบบจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการรองรับผลของแรงกระทำในแนวราบและแรงที่กระทำในแนวดิ่ง  ซึ่งแรงกระทำในแนวดิ่งคือ น้ำหนักที่เกิดจาก เสา ผนัง กำแพง ของแต่ละชั้นและจะมีความผันแปรไปตามสัดส่วนของความสูงอาคาร ส่วนแรงกระทำทางด้านข้างเกิดจากแรงที่กระทำโดยลมหรือแรงที่เกิดจะการเกิดแผ่นดินไหว เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักของอาคารที่ใช้สำหรับรับแรงกระทำในแนวดิ่งและแนวราบ จะพบว่าอาคารที่มีความสูงต่ำถึงปานกลาง ผลของแรงกระทำในแนวราบจะมีผลน้อยมากๆ  ซึ่งการเลือกใช้ระบบในการก่อสร้าง โครงสร้างสมควรจะสอดคล้องกับระดับความสูงของอาคารเพราะจะช่วยในการลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคาร        

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 2

การปรับแต่งรูปทรงอาคารสูง เพื่อลดผลของแรงลม

                แรงลมจะส่งผลกระทบต่ออาคารสูงมากกว่าอาคารเตี้ย เนื่องจากแรงลมจะมากขึ้นเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น การออกแบบอาคารต้านแรงลมเราต้องทราบความเร็วลมสูงสุดเพื่อนำมาใช้ออกแบบแรงลมซึ่งสามารถหาได้จาก แรงลมของแต่ละที่ตั้งจะถูกใช้ในการประมาณการลมที่รุนแรงที่สุดที่จะกระทำต่ออาคารในแต่ละที่ตั้งนอกจากจะขึ้นอยู่กับความเร็วลมกับความสูงแล้ว รูปทรงของอาคารก็มีผลอย่างสูงต่อแรงกระทำของลม  และยังต้องคำนึงถึงผลของลมที่ส่งผลกระทบมาจากอาคารรอบๆด้วย ในกรณีอาคารมีความแข็งของโครงสร้างต่ำจะทำให้เกิดการไหวเอนของส่วนยอดอาคารสูงอันเนื่องมาจากแรงลมทำให้ผู้อาศัยภายในอาคารเกิดความไม่สบาย ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถสังเกตได้จากการมอง แต่จะก่อให้เกิดความไม่สบายแก่ผู้อาศัยในอาคารสูง

                อาคารจึงควรมีความแข็ง (Stiffness) มากพอที่จะฝืนไม่ไห้เกิดการไหวมากไปกว่า 1/500 ของความสูงอาคาร ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า อาคารที่สูงกว่า 1,500 ฟุต สามารถไหวได้ที่ ฟุต ดังนั้นทางที่จะป้องกันการไหวเอนของอาคารสูงคือ การเสริมโครงสร้างให้มีความแข็งตัวทางตั้งมากขึ้น      

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1

ความสำคัญของปัญหา

           ในปัจจุบันวิวัฒนาการด้านการสร้างอาคารมีการออกแบบอาคารที่มีความสูงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงผลกระทบของแรงต่าง ๆ ที่กระทำต่อโครงสร้างอาคารเพื่อทำให้องค์อาคารที่ได้ออกแบบให้มีความสูงมาก ๆ สามารถต้านทานแรงกระทำต่อโครงสร้างได้ ซึ่งแรงที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการออกแบบโครงสร้างอาคารสูง ก็คือแรงลม ซึ่งลมคือการเคลื่อนที่ของอากาศจากความไม่สม่ำเสมอของความร้อนที่ผิวโลก และลมจะเคลื่อนที่จากอุณหภูมิสูงไปอุณหภูมิต่ำ (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2554) 
             ลมจะเกิดการเคลื่อนที่และเกิดความเร็วลม จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อองค์อาคารที่มีการออกแบบให้มีความสูงและ Slender ซึ่งจะทำให้เกิดการแอ่นตัว (Deflection) หากออกแบบมาโดยไม่คำนึงถึงแรงลมนั้นจะทำให้ ผู้ใช้อาคารรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อการใช้อาคารและทำให้ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ใช้สอยของอาคาร